top of page

EP.37 การดูหมิ่น VS หมิ่นประมาท ต่างกันอย่างไร?

การดูหมิ่น หมายถึง การกระทำที่ดูถูกเหยียดหยาม ใช้คำหยาบคายหรือใช้กิริยาท่าทางต่อหน้าผู้อื่น เช่น ชูนิ้วกลาง ยกเท้าให้ เป็นการกระทำซึ่งหน้าเรียกว่า “ดูหมิ่นซึ่งหน้า”


ผลทางกฎหมาย

  • จำคุกไม่เกิน 1 เดือน

  • ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

  • หรือทั้งจำทั้งปรับ


ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า หรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


หมิ่นประมาท หมายถึง การกระทำที่พูด “ใส่ความ” แก่ผู้อื่นต่อหน้าบุคคลที่สาม ทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาทได้รับความเกลียดชัง หรือถูกดูหมิ่น

การใส่ความ หมายถึง คำกล่าวอ้างในลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงที่ทำให้ผู้อื่นเสียหายหรือถูกลดคุณค่าทางสังคม เช่น เสียหายด้านชื่อเสียง เสียงหายด้านการงานอาชีพ

เงื่อนไข บุคคลที่สามต้องรู้ถึงการกระทำหมิ่นประมาทจึงจะครบองค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาท


ข้อควรระวัง!!! แม้ความที่พูดจะเป็นความจริงทั้งหมดก็มีความผิดฐานหมิ่นประมาทเช่นเดิมเพราะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง


ผลทางกฎหมาย

  • จำคุกไม่เกิน 1 ปี

  • ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

  • หรือทั้งจำทั้งปรับ


ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ



ดู 41 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page