การทำร้างร่ายกายเป็นความรุนแรงที่เป็นปัญหาก่อให้เกิดคดีความอันดับต้น ๆ ในสังคมไทย ซึ่งส่วนใหญ่มักมาจากความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท บันดาลโทสะ จนนำไปสู่การทำร้ายร่างกาย
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ พบได้บ่อยในครอบครัว หรือคนรัก และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และจิตใจ ทั้งการทุบตีทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ พูดจาด่าทอ ให้เกิดความเจ็บใจ หรือความรุนแรงจากการล่วงละเมิดทางเพศ โดยหยิบยืม "ความรัก" มาใช้เป็นเครื่องมือที่จะมาทำร้ายคู่ชีวิต คู่รัก หรือความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่น ๆ
เมื่อถูกทำร้ายร่างกาย มีกฎหมายใดคุ้มครองเราบ้าง?
การทำร้ายร่างกาย มีกฎหมายให้ความคุ้มครองในทางอาญาไว้ โดยชัดเจนในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย และคดีทำร้ายร่างกายเป็นข้อหาทางอาญาซึ่งเป็นอาญาแผ่นดิน ไม่สามารถยอมความได้ ดังนั้น เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นและถูกตั้งข้อหาแล้ว จึงต้องดำเนินคดีอาญาต่อไปจนถึงที่สุด
โทษทางอาญา ข้อหาทำร้ายร่างกายมีอะไรบ้าง?
• ทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• ทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายได้รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 – 200,000 บาท
• กรณีประมาท และทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• กรณีเป็นทำร้ายร่างกาย แต่ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ได้รับอันตราย (ลหุโทษ) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
คำว่า สาหัส ในทางกฎหมาย แบ่งได้ตามกรณีดังต่อไปนี้
1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียประสาทการรับรู้กลิ่น
2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์
3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
4) หน้าเสียโฉมถาวร
5) แท้งลูก
6) จิตพิการถาวร
7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บ หรือไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเกินกว่า 20 วัน
ข้อความนี้อยากจะฝากถึงคนที่ถูกกระทำ
หากเราโดนทำร้ายร่างกายไม่ว่าจะเบาหรือหนักแค่ไหน เราไม่ควรปล่อยละเลย ควรที่จะไปแจ้งความและเอาผิดกับคนที่ทำให้ถึงที่สุด ให้เขาได้รับถึงบทลงโทษที่ควรจะได้รับ คุณไม่ต้องกลัวและไม่ต้องอาย เพราะสิ่งที่คุณทำนั้นคุณกำลังปกป้องสิทธิของตนเองและทุกคนก็ไม่สมควรที่
แหล่งที่มา
Comments